We We

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

ภาพกิจกรรมที่พวกเรา ป.เอก คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันทำกิจกรรมตลอด 1 ปี (ยังมีภาพอื่นๆ อีกมากมาย) ซึ่งผู้เขียนกำลังรวบรวมเพื่อจะนำมาเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ชมต่อไป

ภาษาภาพ : คืนที่มีดาวพราวฟ้า Visual Language : The Starry Night

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร 

 

     บทความเรื่อง “ภาษาภาพ:คืนที่มีดาวพราวฟ้า” Visual Language : The Starry Night มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเนื้อหาของภาษาภาพ ที่มนุษย์ใช้สื่อสาร สร้างความเข้าใจร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด หรือใช้ภาษาอะไร ทั้งนี้เพราะการรับรู้ภาษาภาพ เกิดจากการมองเห็นด้วยตา จากนั้นไปผ่านการประมวลผลของสมองและจิตใจ ทำให้เกิดการรับรู้และทำความเข้าใจ ซึ่งการรับรู้ของ แต่ละคนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ การฝึกฝน การได้เห็นและการสังเกตผลงานศิลปะ แต่การแปลความหมายของภาษาภาพนั้น มีความแตกต่างจากภาษาเขียน  เพราะภาษาเขียน มีหลักภาษาหรือไวยกรณ์ที่ค่อนข้างตายตัว แต่ภาษาภาพไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวแน่นอน สามารถ แปลความหมายได้มากมายหลายแนวทาง ดังนั้นในการแปลความหมายของภาษาภาพจะต้อง ฝึกทักษะทางการรับรู้ภาษาภาพที่ประกอบด้วย ส่วนมูลฐานทางศิลปะ อันได้แก่  เส้น รูปร่าง  รูปทรง  สี แสงเงา ฯลฯ และหลักการทางศิลปะ อันได้แก่ จังหวะ การเคลื่อนไหว ดุลยภาพ ฯลฯ มาประกอบกัน เป็นผลงานศิลปะที่ศิลปินใช้เป็นภาษาในการสื่อสารแนวคิด ความหมาย จินตนาการ และมีคุณค่าทาง ความงาม
     ในบทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอภาษาภาพ  คืนที่มีดาวพราวฟ้า (The Starry Night ) ผลงาน ของศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับโลก ชาวดัตช์ วินเซนต์ แวนโก๊ะห์ (Vincent Van Gogh)  ซึ่งเขาได้ถ่ายทอด อารมณ์ ความรู้สึกถึง ความเหงา ความโดดเดี่ยว ความทุกข์ทรมาน และพลังความเคลื่อนไหวที่อยู่ใน ความหยุดนิ่งของบรรยากาศ  ตลอดจนเป้าหมายที่ต้องการจะเดินทางไปสู่สรวงสวรรค์ด้วยความตาย  

View More

สุนทรียในงาน Computer Art

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

การดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญที่ได้นำมาใช้ในงานต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น เป็นเครื่องมือในการควบคุมสัาณไฟจราจร ควบคุมไฟฟ้า น้ำประปา การขึ้นลงของเครื่องบิน การค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การสื่อสาร การบริหารจัดการงานในองค์กรต่างๆ หรือแม้กระทั่งการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่อสร้าง ภาพที่มนุษย์ไม่สามารถจะสร้างในความเป็นจริงให้เกิดขึ้นได้ (Granam, Neil, 1983:10) ภาพที่ได้จะมีลักษณะ 2 มิติ และ 3 มิติ มีทั้งรูปแบบเหมือนจริงและนามธรรม โดยอาศัยคุณสมบัติพิเศษ ของคอมพิวเตอร์ในการเก็บ (Save) ภาพ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงภาพต่างๆ และนำภาพนั้นๆ กลับมาใช้ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

ทางด้านศิลปะ ศิลปินส่วนใหญ่หันมาใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เช่น งานประติมากรรมหรืองานปั้น ก็สามารถใช้โปรแกรม 3 มิติ ในการออกแบบ เพื่อใช้ใน การทำแบบร่าง ตรวจสอบรูปทรงหรือความคิดก่อนสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานจริง จิตรกร ศิลปินภาพพิมพ์และศิลปินถ่ายภาพก็สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ในการสร้างภาพ ตกแต่งภาพ ตลอดจน ศิลปินสื่อผสมก็สามารถหาแนวทางและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสร้างสรรค์ จึงมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของงานศิลปะและประสบกรณ์ใหม่ทางสุนทรียศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตามผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์จากคอมพิวเตอร์นั้น ยังไม่เป็นที่ยอมรับในการประเมินคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ แต่อย่างใด และมักถูกตั้งคำถามอย่างมากจากนักวิชาการศิลปะ นักวิจารณ์ศิลปะ และผู้สนใจศิลปะว่า “ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์จากคอมพิวเตอร์มีคุณค่าทางความงามหรือคุณค่าทางสุนทรียภาพหรือไม่”

View More