โดย สมาพร คล้ายวิเชียร
การดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญที่ได้นำมาใช้ในงานต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น เป็นเครื่องมือในการควบคุมสัาณไฟจราจร ควบคุมไฟฟ้า น้ำประปา การขึ้นลงของเครื่องบิน การค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การสื่อสาร การบริหารจัดการงานในองค์กรต่างๆ หรือแม้กระทั่งการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่อสร้าง ภาพที่มนุษย์ไม่สามารถจะสร้างในความเป็นจริงให้เกิดขึ้นได้ (Granam, Neil, 1983:10) ภาพที่ได้จะมีลักษณะ 2 มิติ และ 3 มิติ มีทั้งรูปแบบเหมือนจริงและนามธรรม โดยอาศัยคุณสมบัติพิเศษ ของคอมพิวเตอร์ในการเก็บ (Save) ภาพ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงภาพต่างๆ และนำภาพนั้นๆ กลับมาใช้ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว
ทางด้านศิลปะ ศิลปินส่วนใหญ่หันมาใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เช่น งานประติมากรรมหรืองานปั้น ก็สามารถใช้โปรแกรม 3 มิติ ในการออกแบบ เพื่อใช้ใน การทำแบบร่าง ตรวจสอบรูปทรงหรือความคิดก่อนสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานจริง จิตรกร ศิลปินภาพพิมพ์และศิลปินถ่ายภาพก็สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ในการสร้างภาพ ตกแต่งภาพ ตลอดจน ศิลปินสื่อผสมก็สามารถหาแนวทางและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสร้างสรรค์ จึงมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของงานศิลปะและประสบกรณ์ใหม่ทางสุนทรียศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตามผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์จากคอมพิวเตอร์นั้น ยังไม่เป็นที่ยอมรับในการประเมินคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ แต่อย่างใด และมักถูกตั้งคำถามอย่างมากจากนักวิชาการศิลปะ นักวิจารณ์ศิลปะ และผู้สนใจศิลปะว่า “ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์จากคอมพิวเตอร์มีคุณค่าทางความงามหรือคุณค่าทางสุนทรียภาพหรือไม่”
จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรนำเสนอคุณค่าทางความงามหรือคุณค่าทางสุนทรียภาพในผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์จากคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดความกระชับในถ้อยคำภาษาในบทความนี้จะขอใช้คำว่า “Computer Art” แทนผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์จากคอมพิวเตอร์
ความเป็นมาของ Computer Art
คอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในศิลปะและการออกแบบตั้งแต่ ปี ค.ศ.1960 (ศุภกรณ์ ดิษฐ์พันธุ์, 2542 : 57) พอในราว ค.ศ. 1970 ซึ่งเป็นยุคของศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Art)Prince (1988 : 81-88) กล่าวว่า ผลงานศิลปะร่วมสมัยนั้น เป็นผลงานศิลปะที่เข้าใจได้ยาก ผู้ชมงานศิลปะส่วนให่อาจจะเข้าใจความหมายของภาพคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ดังนั้นศิลปินจึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อช่วยในการสื่อสารและดึงดูดความสนใจของผู้ชม โดยเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดนิทรรศการทางศิลปะที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ในนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดแสดงนิทรรศการทางศิลปะนี้กลายเป็นเทคนิคเฉพาะตัวที่มีความทันสมัยเพิ่มมากขึ้น และการเริ่มต้นที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ในการจัดแสดงผลงานศิลปะของโลก จึงทำให้เกิดรูปแบบของผลงานศิลปะร่วมสมัยเกิดขึ้น
จากนั้นใน ปี ค.ศ. 1982 เป็นต้นมา กลุ่มซีกราฟ (Siggraph) ที่ย่อมาจาก The SpecialInterest Group for Graphics ก็มีการจัดแสดงผลงาน Computer Art เรื่อยมา โดยนำเสนอออกมาในรูปแบบของศิลปะภาพพิมพ์ ศิลปะการจัดวาง (Installations) ผลงานสื่อผสม ฯลฯ จนกระทั่งปัจจุบันนี้มีการใช้คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ผลงานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
Computer Art ในงานทัศนศิลป์
คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ เช่น ประติมากรรม ก็สามารถใช้โปรแกรมประเภท 3 มิติ ในการออกแบบเพื่อใช้ในการทำแบบร่าง ตรวจสอบรูปทรงหรือความคิดก่อนสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานจริง จิตรกรหรือศิลปินภาพพิมพ์ และศิลปินภาพถ่ายก็สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้างภาพหรือตกแต่งภาพ ตลอดจนศิลปินสื่อผสมก็สามารถหาแนวทางและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสร้างสรรค์งานประเภทที่แสดงให้เห็นถึงงานสร้างสรรค์ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและชนิดของงาน (O’ Connell, 1994 อ้างถึงในศุภกรณ์ ดิษฐ์พันธุ์, 2542:28) ดังนั้นเพื่อให้เห็นความชัดเจนระหว่างผลงาน Computer Art กับผลงานศิลปะทางด้านทัศนศิลป์ผู้เขียนจึงขอนำเสนอเป็นตารางเปรียบเทียบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ตารางที่ 1 : เปรียบเทียบระหว่าง Computer Art กับจิตรกรรม
Computer Art | จิตรกรรม |
กระบวนการสร้างสรรค์ | |
1. นำเอาองค์ประกอบศิลป์ คือ ส่วนมูลฐานทางศิลปะ เช่น เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรงพื้นผิว บริเวณว่าง และหลักการทางศิลปะ เช่นดุลยภาพ การเน้น ความกลมกลืน จังหวะ การเคลื่อนไหว ความหลากหลาย ความลดหลั่น มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน | 1. นำเอาองค์ประกอบศิลป์ คือ ส่วนมูลฐานทางศิลปะ เช่น เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรงพื้นผิว บริเวณว่าง และหลักการทางศิลปะ เช่นดุลยภาพ การเน้น ความกลมกลืน จังหวะ การเคลื่อนไหว ความหลากหลาย ความลดหลั่น มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน |
2.ใช้วิธีการสร้างภาพบนจอภาพโดยอาศัยหลักการของแสง สีจะเกิดจากแสงที่อยู่บนจอภาพ แทนการติดของเนื้อสี | 2. ใช้วิธีการป้ายสีลงบนพื้นผิว เช่น ผ้าใบ กระดาษซึ่งสีนั้นจะติดลงบนพื้นผิวที่ป้าย จนเกิดเป็นรูปทรงที่จิตรกรต้องการ |
3. การเคลื่อนไหวในการสร้างภาพ จะใช้หลักการของความสัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือในการควบคุมการใช้เม้าส์หรือปากกาวาดภาพของบนพื้นผิว ภาพที่สร้างจึงไม่เกิดความเคลื่อนไหว | 3.การเคลื่อนไหวในการสร้างภาพจะใช้การป้ายสีลงบนพื้นผิวที่ต้อง ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนไหวไปตามรูปแบบในการป้ายสี เช่น ฝีแปรง เทราดสี เป่า พ่น ภาพที่สร้างจึงมีความเคลื่อนไหวตามการแสดงอารมณ์ของศิลปิน |
Computer Art | จิตรกรรม |
ลักษณะผลงาน | |
1. ลักษณะของภาพมีความคล้ายงานจิตรกรรมเป็นอย่างมาก คือ ในภาพมีการนำเอาส่วนมูลฐานทางศิลปะและหลักการทางศิลปะมาใช้ในการสร้างภาพ | 1. ลักษณะของภาพมีความคล้ายภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก คือ ในภาพมีการนำเอาส่วนมูลฐานทางศิลปะและหลักการทางศิลปะมาใช้ในการสร้างภาพ เช่นกัน |
2. พื้นผิวที่เกิดในภาพเป็นพื้นผิวลวงตา ที่สัมผัสได้ด้วยการมอง แต่ไม่ใช่ลักษณะที่แท้จริงของผิววัสดุนั้นๆ | 2. พื้นผิวที่เกิดในภาพเป็นพื้นผิวของวัสดุจริง ที่สัมผัสได้ด้วยมือหรือกายสัมผัส |
3. ผลงานสามารถสร้างซ้ำได้หลายชิ้น | 3. ผลงานมีเพียงชิ้นเดียว |
จากตารางสามารถสรุปได้ว่า Computer Art และจิตรกรรมนั้น ได้นำเอาองค์ประกอบศิลป์คือ ส่วนมูลฐานทางศิลปะ เช่น เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว บริเวณว่าง และหลักการทางศิลปะ เช่น ดุลยภาพ การเน้น ความกลมกลืน จังหวะ การเคลื่อนไหว ความหลากหลาย ฯลฯ มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน จึงส่งผลให้ผลงานศิลปะทั้งสองประเภทนี้มีลักษณะของภาพเหมือนกันเกือบจะแยกแยะไม่ออก แต่เนื่องจากความแตกต่างกันของกระบวนการสร้างสรรค์และสื่อที่ใช้ ก็คือ Computer Art ใช้วิธีการสร้างภาพบนจอภาพโดยอาศัยหลักการของแสง สีจะเกิดจากแสงที่อยู่บนภาพแทนการติดของเนื้อสี แต่จิตรกรรมใช้วิธีการป้ายสีลงบนพื้นผิว เช่น ผ้าใบ กระดาษ ซึ่งสีนั้นจะติดลงบนพื้นผิวที่ป้าย ดังนั้นจึงส่งผลให้ผลงาน Computer Art มีพื้นผิวที่เกิดในภาพเป็นพื้นผิวลวงตา ไม่ใช่ลักษณะที่แท้จริงของผิววัสดุนั้น แต่พื้นผิวที่เกิดขึ้นในผลงานจิตรกรรมเป็นพื้นผิวของวัสดุนั้นจริงๆ ที่สัมผัสได้ด้วยมือหรือกายสัมผัส และสิ่งสำคัผลงาน Computer Art สามารถสร้างซ้ำได้หลายชิ้น ไม่มีลักษณะเป็นผลงานชิ้นเดียว (Master Pieces)
ตารางที่ 2 : เปรียบเทียบระหว่าง Computer Art กับภาพพิมพ์
Computer Art |
ภาพพิมพ์ |
กระบวนการสร้างสรรค์ |
|
1. นำเอาองค์ประกอบศิลป์ คือ ส่วนมูลฐานทางศิลปะ เช่น เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว บริเวณว่าง และหลักการทางศิลปะ เช่นดุลยภาพ การเน้น ความกลมกลืน จังหวะ การเคลื่อนไหว ความหลากหลาย ความลดหลั่น มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน | 1. นำเอาองค์ประกอบศิลป์ คือ ส่วนมูลฐานทางศิลปะ เช่น เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว บริเวณว่าง และหลักการทางศิลปะ เช่นดุลยภาพ การเน้น ความกลมกลืน จังหวะ การเคลื่อนไหว ความหลากหลาย ความลดหลั่น มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน |
Computer Art | ภาพพิมพ์ |
กระบวนการสร้างสรรค์ | |
2.ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างภาพ | 2. ใช้เครื่องจักรในการสร้างภาพ |
3. ขั้นตอนในการสร้างภาพแบ่งออกได้ 2 ขั้นตอน3.1 สร้างภาพและบันทึกในหน่วยความจำ ซึ่งหน่วย ความจำคล้ายแม่พิมพ์ในการเก็บข้อมูล3.2 แสดงผลบนจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ |
3.ขั้นตอนในการสร้างภาพแบ่งออกได้ 2 ขั้นตอน3.1 เตรียมงานพิมพ์บนแม่พิมพ์และแท่นพิมพ์3.2 สร้างผลงานจากแม่พิมพ์นั้นลงบนสื่อต่างๆ เช่น กระดาษ ผ้า ไม้ |
4. สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงภาพต่างๆ ได้ ในคอมพิวเตอร์และนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว | 4. สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงภาพต่างๆ ได้จากแม่พิมพ์ แต่มีกระบวนการที่ยุ่งยากหากแม่พิมพ์ถูกทำลายไปแล้วก็ไม่สามารถแก้ไขและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ |
5. สามารถพิมพ์ภาพได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องกลับด้านจากซ้ายเป็นขวาหรือจากขวาเป็นซ้าย | 5. ในการพิมพ์ ภาพจะถูกกลับด้านจากซ้ายเป็นขวาหรือจากขวาเป็นซ้าย |
ลักษณะผลงาน | |
1. ลักษณะของภาพมีความคล้ายงานภาพพิมพ์ คือ ในภาพมีการนำเอาส่วนมูลฐานทางศิลปะและหลักการทางศิลปะมาใช้ในการสร้างภาพ | 1. ลักษณะของภาพมีความคล้ายภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก คือ ในภาพมีการนำเอาส่วนมูลฐานทางศิลปะและหลักการทางศิลปะมาใช้ในการสร้างภาพ เช่นกัน |
2. พื้นผิวที่เกิดในภาพเป็นพื้นผิวลวงตา ที่สัมผัสได้ด้วยการมอง แต่ไม่ใช่ลักษณะที่แท้จริงของผิววัสดุนั้นๆ | 2. พื้นผิวที่เกิดในภาพเป็นพื้นผิวของวัสดุจริง ที่สัมผัสได้ด้วยมือหรือกายสัมผัส |
3. ผลงานสามารถสร้างซ้ำได้หลายชิ้น | 3. ผลงานสามารถสร้างซ้ำได้หลายชิ้น |
จากตารางสามารถสรุปได้ว่า Computer Art และภาพพิมพ์นั้น ได้นำเอาองค์ประกอบศิลป์คือ ส่วนมูลฐานทางศิลปะ เช่น เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว บริเวณว่าง และหลักการทางศิลปะ เช่น ดุลยภาพ การเน้น ความกลมกลืน จังหวะ การเคลื่อนไหว ความหลากหลาย ฯลฯ มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน จึงส่งผลให้รูปแบบและลักษณะของผลงานศิลปะทั้งสองประเภทมีความเหมือนกันเป็นอย่างมาก อีกทั้งในส่วนของเครื่องมือและกระบวนการสร้างภาพของ Computer Artและภาพพิมพ์ ได้ใช้เครื่องจักรเหมือนกันทั้งคู่ ซึ่งสามารถสร้างผลงานซ้ำกันได้หลายชิ้น แต่อย่างไรก็ตาม Computer Art มีข้อดีมากกว่าภาพพิมพ์ คือ สามารถเก็บ (Save) ภาพ แก้ไขเปลี่ยนแปลงภาพต่างๆ และนำภาพนั้นๆ กลับมาใช้ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องทำงานกลับด้าน และยังย่อขยายภาพได้ตามต้องการ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ของ Computer Art ล้วนเป็นข้อจำกัดของภาพพิมพ์
จากเปรียบเทียบระหว่างผลงาน Computer Art กับผลงานศิลปะทางด้านทัศนศิลป์ที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ทราบว่าในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์มีลักษณะเฉพาะที่มีความเหมือนและความแตกต่างกันอย่างไร กับผลงานจิตรกรรม ภาพพิมพ์ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เลย ก็คือ ผลงาน Computer Art เหล่านั้น มีคุณค่าความงามทางเรื่องราวและรูปแบบเช่นเดียวกับผลงานศิลปะประเภทอื่นๆ
สุนทรียภาพหรือความงามในผลงาน Computer Art
ผู้เขียนได้เลือกผลงาน Computer Art ชื่อภาพ “Gone” ผลงานของ “Linda Bergkvist” ศิลปินชาว Sweden เทคนิคโปรแกรมสำเร็จรูป (Software) คือ Painter และPhotoshop นำมาพิจารณาถึงสุนทรียภาพหรือความงามในผลงาน โดยใช้มีรายละเอียดดังนี้
1. การพรรณา (Description) ภาพ “Gone” เป็นภาพที่แสดงถึงเรื่องาวของการตายของชายหนุ่มรูปงามได้นอนตายอยู่บนพื้นที่ปกคลุมไปด้วยใบไม้ ในอุ้มมือของชายหนุ่มมีขวดยาพิษขนาดเล็กอยู่ ซึ่งสันนิษฐานว่า ชายหนุ่มรูปงามคนนี้น่าเป็นโรมิโอ บรรยากาศในภาพใช้โทนสีเข้ม เช่น สีเขียว สีน้ำตาล ในส่วนของสีโทนสว่าง สีน้ำตาล ในส่วนของสีโทนสว่างจะใช้สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีเหลืองอ่อน แบ่งสัดส่วนการใช้สีระหว่างสีสว่างและสีเข้มประมาณร้อยละ 50 ที่ทำให้เห็นความมืดและสว่างของภาพ แล้วยังมีการสร้างให้เกิดความแตกต่างของพื้นผิวในภาพด้วยการใช้รูปร่างรูปทรงของใบไม้สร้างร่องรอยของพื้นผิวขุรขระ แล้วใช้พื้นผิวของผิวกายชายหนุ่มที่มีพื้นผิวเรียบเนียน สร้างให้เกิดความแตกต่างขัดแย้งกันระหว่างความขุรขระของใบไม้กับผิวเนื้อของชายหนุ่ม
2. การตีความ (Interpretation) ภาพ “Gone” เป็นภาพที่มุ่งแสดงออกถึงความงดงามของความตาย เป็นการตายที่สงบศิลปินสะท้อนภาพความตายออกมาเสมือนเป็นการนอนหลับใหล
3. การตัดสิน (Judgment) ผลงาน Computer Art ชิ้นนี้ มีคุณค่าในการแสดงออกทางด้านรูปแบบที่งดงาม โดยศิลปินนำเอาส่วนมูลฐานทางศิลปะในเรื่องของน้ำหนัก สี พื้นผิว รูปร่างและรูปทรง มาสร้างภาพให้เกิดบรรยากาศที่นุ่มนวลละเมียดละไม แต่ก็สามารถใช้น้ำหนักของสีสร้างจุดเด่นให้เกิดขึ้นในภาพ ส่วนคุณค่าความงามทางด้านเนื้อหานั้น ศิลปินนำเรื่องเกี่ยวกับความตาย ซึ่งเป็นสัจจธรรมของโลกมนุษย์ว่าทุกคนเกิดมาต้องตาย มาแสดงออกโดยนำเสนอในมุมมองที่ความตายเป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัว มันเป็นเสมือนการหลับใหลไปเท่านั้นเอง
บทสรุป
การสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะประเภทหนึ่งที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ ซึ่งมันเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมาตามความเจริก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยี ที่มุ่งเน้นตอบสนองความต้องการทางด้านความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว ดังนั้นในการสร้างสรรค์ผลงาน Computer Art จึงมีเสน่ห์ดึงดูดใจศิลปินให้หันมาใช้วิธีการนี้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ นอกจากนั้นมันยังสามารถเก็บ (Save) ภาพ แก้ไขเปลี่ยนแปลงภาพต่างๆ และนำภาพนั้นๆ กลับมาใช้ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว แต่ภาพ Computer Art ก็มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถสร้างพื้นผิวจริงของวัสดุได้ พื้นผิวที่เกิดขึ้นเป็นเพียงพื้นผิวลวงตา และสิ่งสำคัผลงาน Computer Art นี้ ไม่มีลักษณะเป็นผลงานชิ้นเดียว (Master Pieces) เพราะสามารถทำซ้ำๆ กันได้หลายครั้ง
แต่ในทางตรงกันข้ามการสร้างสรรค์ผลงานทางทัศนศิลป์นั้น มีกระบวนการสร้างภาพที่ต้องใช้เวลา แต่มันสามารถสร้างจินตนาการใหม่ๆ ให้ศิลปินได้ตลอดเวลา และสิ่งสำคัผลงานจิตรกรรม ภาพพิมพ์ ประติมากรรมนั้น มีเสน่ห์อยู่ที่พวกมันสามารถสร้างพื้นผิวของวัสดุนั้นจริงๆ ที่สัมผัสได้ด้วยมือหรือกายสัมผัส
จากที่กล่าวมาไม่ว่าจะเป็น Computer Art หรือจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ล้วนเป็นวิธีการที่ศิลปินนำมาใช้สื่อ เพื่อแสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดฝัน จินตนาการ ของศิลปิน โดยศิลปินเป็นผู้เลือกว่าวิธีการใดที่สามารถนำมาใช้สื่อความหมายที่ตอบสนองความต้องการของตัวศิลปินเองได้มากที่สุด
รายการอ้างอิง
สุชาติ สุทธิ. (2535). การเรียนรู้การเห็น:พื้นฐานการวิจารณ์ทัศนศิลป์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. 2542. การวิเคราะห์ภาพศิลปะที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ เพื่อการพัฒนาทฤษฎีด้านสุนทรียศาสตร์ในบริบทของนฤมิตศิลป์. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช.
Granam, N. 1983. The mind tool : Computers and their impact on society. Saint Paul : West Publiching Company.
Mittler, G.A. 1993. “Art Criticism” Paper present of the Conference of Visual Art Criticism at Rajaphat Institute, Suan Dusit, Bangkok:Thailand, 20-22, December.
Mittler, G.A. 1986. Art in Focus. Peoria, IL:Bennett & Mcknight Publishing.
Prince, P.D. 1988. The aesthetics of exhibition : A discussion of recent American computer art shows. Leonardo. Supplemental Issue, Vol.1, Electronic Art. pp 81-88.
CGSociety. 2009. Computer Art. [Online]. Available from:http://forums.cgsociety.org. [2009, January 20].
Pictopia. 2009. Woman Undresses Sitting in a Landscape. [Online].Available from:http:// pictopia.com. [2009, January 20].