ภาพพิมพ์ของกลุ่มประเทศตะวันออก

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

กลุ่มประเทศตะวันออก หมายถึง ภูมิภาคเอเชียตะวันออก อันได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น  เกาหลี ประเทศเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างภาพพิมพ์ และการเผยแพร่ภาพพิมพ์มาเป็นเวลายาวนาน บ้างช่วงเทคโนโลยีทางภาพพิมพ์ของประเทศกลุ่มดังกล่าวยังให้อิทธิพลกับประเทศทางยุโรป ด้วยเหตุนี้ภาพพิมพ์ในกลุ่มประเทศตะวันออกจึงมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมเนื้อหาสาระของภาพพิมพ์ในกลุ่มประเทศตะวันออกดังมีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

View More

National Bunraku Theater in Osaka

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

National Bunraku Theater in Osaka เป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุน ให้คนในชาติทำนุบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทางด้านการแสดงเชิดหุ่นกระบอกบุราคุ (Bunraku)  โดยก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1684 พันธกิจหลักของ National Bunraku Theater in Osaka นั้น ก็จะมีในเรื่องของการจัดแสดงหุ่นเชิดบุราคุ การบำรุงรักษา ซ่อมแซม การสร้างสรรค์หุ่นเชิด การออกแบบเสื้อผ้าของหุ่นเชิด

ในการแสดงเชิดหุ่นบุราคุภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “นิงเคียว” (ningyō) จะต้องแสดงเป็นทีม ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญของการแสดงอยู่ 3 ส่วน คือ 1) ผู้ร้องเรื่องราว ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “ทะยู” (tayu) ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของการแสดงหุ่นเชิดบุราคุ 2)  คนเล่นซามิเซง ซึ่งซามิเซงเป็นเครื่องดนตรีที่กำหนดจังหวะของคนร้องและคนเชิดหุ่น 3) คนเชิดหุ่นกระบอกและตุ๊กตาหุ่นเชิด ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “นิงโยซึคัย หรือ นิงโยซูคัย” (Ningyōtsukai or Ningyōzukai) ซึ่งในส่วนของหัวหรือหน้าตาของหุ่นมีประมาณ 40 แบบ ในหัวของหุ่นแต่ละตัวจะมีหน้าตาหลายๆ แบบ

นักแสดงหุ่นเชิดบุราคุนั้นต้องเริ่มเรียนรู้ฝึกฝนตั้งแต่อายุน้อยๆ ซึ่งระดับของความชำนาญและการยอมรับของนักแสดงนั้น สามารถจำแนกได้ตามอายุ ตัวอย่างเช่น ผู้ร้องอายุประมาณ 50 ปี จะถือว่าเป็นนักแสดงในระดับที่ยังไม่ชำนาญนัก ต้องแสดงมาจนถึงอายุ 70 ปีขึ้นไปแล้ว จะถือว่าเป็นนักแสดงบุราคุที่อยู่ในระดับแถวหน้าที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งในปัจจุบันนักแสดงบุราคุที่มีชื่อเสียงที่สุดอายุ 75 ปี

การไปเยี่ยมชมที่ National Bunraku Theater in Osaka ในครั้งนี้นั้น ผู้เขียนจะขออธิบายด้วยภาพ ซึ่งผู้เขียนเข้าใจว่าภาพจะสามารถสื่อความหมายได้ดีกว่าคำบรรยายร้อยๆ พันๆ คำ ดังสุภาษิตที่ว่า “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ”

View More

The National Museum of Art, Osaka (15.03.09)

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

National Museum of Art, Osaka (NMAO)
National Museum of Art, Osaka (NMAO)

The National Museum of Art, Osaka   ใช้ตัวย่อภาษาอังกฤษว่า NMAO เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ที่ Nakanoshima ระหว่าง  Dōjima River และ Tosabori River เดินทางประมาณ 5 นาที จากสถานี Higobashi Station ซึ่งออกแบบโดย Arata Isozaki  พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีห้องแสดงนิทรรศการที่อยู่ลงไปใต้ดิน โดยสร้างสถาปัตยกรรมที่แสดงโครงสร้างของการสอดประสานกันของเส้นโลหะผิวเรียบเนียนครอบห้องนิทรรศการเอาไว้

ผลงานศิลปะที่เก็บสะสมเอาไว้ ก็มีผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิเช่น Paul Cézanne, Pablo Picasso, Max Ernst, Tsuguharu Foujita และ Yasuo Kuniyoshi อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ศิลปินทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มาจัดนิทรรศการแสดงผลงาน ซึ่งในตอนที่ผู้เขียนไปเยี่ยมชม NMAO นั้น ก็ได้ชมผลงานศิลปะของศิลปินจีน โดยใช้ชื่อนิทรรศการว่า “AVANT GARDE CHINA 20”

สำหรับการข้อควรปฎิบัติในการเข้าชมนิทรรศการที่ NMAO นั้น มีดังนี้1. ห้ามนำกล้องถ่ายรูปเข้าไปในห้องนิทรรศการอย่างเด็ดขาด 2. ห้ามนำปากกาเข้าไปในห้องนิทรรศการ หากต้องการจดบันทึกทางเจ้าหน้าที่จะมีดินสอให้ยืม 3. ห้ามนำโทรศัพท์มือถือเข้าเข้าไปในห้องนิทรรศการ 4. ในการเดินชมนิทรรศการเจ้าหน้าที่จะบอกให้เราเดินไปตามห้องต่างๆ และในห้องนิทรรศการแต่ละห้องจะมีเจ้าหน้าที่นั่งเฝ้าอยู่ทุกห้อง

บัตรเข้า NMAO
บัตรเข้า NMAO

View More

We We in Japan 14-22 Mar 09

Japan 14-22 Mar 09 (14.03.09 รวมพลที่สุวรรณภูมิ)

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

เนื่องจากการศึกษาดูงานต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนหลักสูตรศิลปกรรม ดุษฏีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พวกเรารุ่น 1 (WE WE) จึงได้มีโอกาสได้มาอยู่ร่วมกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันอีกครั้งหนึ่ง หลังจากเรียนจบ course work แล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการบันทึกภาพเหตุการณ์ความประทับใจ  ผู้เขียนจึงรวบรวมภาพที่พวกเราไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น เมืองโอซากา นารา    เกียวโต ตั้งแต่วันที่ 14-22 มีนาคม 2552

ภาพกิจกรรมชุดแรกผู้เขียนจึงขอนำเสนอภาพในวันที่ 14 มีนาคม 2552 รวมพลกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ ชั้น 4 ประตู 2 แถว D เพื่อออกเดินทางสู่สนามบินคันไซ โดยสายการบินไทย TG 266 ซึ่งเป็นกิจกรรมแรกที่พวกเราได้รวมทำกิจกรรมร่วมกันครั้งแรกหลังจบ course work

We We

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

ภาพกิจกรรมที่พวกเรา ป.เอก คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันทำกิจกรรมตลอด 1 ปี (ยังมีภาพอื่นๆ อีกมากมาย) ซึ่งผู้เขียนกำลังรวบรวมเพื่อจะนำมาเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ชมต่อไป

เที่ยวปราสาทเขมร

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

จากการที่ได้ไปเที่ยวประเทศกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ.2549 ทำให้เกิดความรู้สึกประทับใจในความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรมแบบเขมร เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับปราสาทหินในประเทศไทยที่พบมากในบริเวณอีสานใต้แล้ว จะเห็นได้ถึงความคล้ายคลึงกันในรูปแบบของศิลปกรรม แต่ก็พบความแตกต่างในสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ ดังนั้นจึงได้นำสภาพบรรยายที่ได้ไปพบด้วยตนเองมานำเสนอให้ผู้สนใจได้ชม เพื่อลองเปรียบเทียบดูว่าปราสาทที่บ้านเราต่างจากประเทศกัมพูชาอย่างไร ซึ่งคิดว่าท่านผู้ชมจะได้รับกลิ่นอายทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่แตกต่างกันออกไปอย่างแน่นอน

View More

ความทรงจำ…ณ.คณะวิจิตรศิลป์ มช.

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

เมื่อนึกถึงภาพแห่งความสุข ความสนุก ความหวังและการแสวงหา ข้าพเจ้ามักจะนึกถึงคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสมอๆ ซึ่งสถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งประสิทธิประสาทวิชาความรู้ให้แก่ข้าพเจ้า อีกทั้งยังทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ ประสบการณ์ต่างๆ อีกมากมาย ตลอดระยะเวลาที่เรียนรู้สึกประทับใจมาก ดังนั้นจึงได้รวบรวมภาพขณะที่กำลังเรียนอยู่มาไว้ในเวปไซด์ของตนเอง ซึ่งจะค่อยๆ นำออกมาโชว์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

View More

ค่าย Art for All

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

การจัดค่ายศิลปะ Art for All เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 โดยมีแนวคิด เพื่อผลักดัน ให้ศิลปะเข้าสู่วิถีชีวิต วิถีชุมชน โดยพยายามให้สังคมตระหนักรู้ถึงความสำคัญ และความจำเป็น ของการพัฒนามนุษย์เพื่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อจินตนาการ พัฒนาจิตใจเพื่อ มุ่งสู่การสร้างสังคมแห่งความเอื้ออาทร ซึ่ง ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นผู้มุ่งมั่นดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งในปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2551 นี้ ศูนย์ศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ ( Art for All) ได้กำหนดให้มีการจัดค่าย Art for all : สะพานสู่มิตรภาพ ขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 20 กรกฎาคม 2551 ณ ศูนย์ประชุมองค์กรสหประชาชาติ และอาราญาน่า ภูพิมาน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นครั้งที่ 12

จากการรวบรวมข้อมูลภาคสนามที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปร่วมโครงการค่ายศิลปะ เพื่อมวลมนุษย์ (Art for all) : สะพานสู่มิตรภาพ ครั้งที่ 12 ในฐานะผู้สังเกตการณ์และวิทยากรประจำฐานที่ 12 ปล่อย พันธุ์หรร(ษา) ข้าพเจ้าจึงขอนำเสนอข้อมูลที่ได้รวบรวมมา โดยแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้คือ ประวัติ ความเป็นมา ความรู้จากวิทยากร การสังเกตการณ์ การปฏิบัติการวิทยากรของตนเอง (นฤมิตศิลป์และ ทัศนศิลป์) และภาพรวมของค่าย Art for All : สพานสู่สันติภาพ

View More