ภาพพิมพ์ของกลุ่มประเทศตะวันออก

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

กลุ่มประเทศตะวันออก หมายถึง ภูมิภาคเอเชียตะวันออก อันได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น  เกาหลี ประเทศเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างภาพพิมพ์ และการเผยแพร่ภาพพิมพ์มาเป็นเวลายาวนาน บ้างช่วงเทคโนโลยีทางภาพพิมพ์ของประเทศกลุ่มดังกล่าวยังให้อิทธิพลกับประเทศทางยุโรป ด้วยเหตุนี้ภาพพิมพ์ในกลุ่มประเทศตะวันออกจึงมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมเนื้อหาสาระของภาพพิมพ์ในกลุ่มประเทศตะวันออกดังมีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

View More

Katin Tree…Fear and Desire

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

Katin_web

ภาพ Katin Tree ค.ศ.2010 ผลงานจิตรกรรม เทคนิค Digital Painting ขนาด 90 x 90 cm

ผลงาน สมาพร คล้ายวิเชียร (Samaporn Clayvichien)

แนวคิดมาจากความกลัว และความปรารถนาของคน

คนส่วนใหญ่กลัวว่าตนจะไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ คนเหล่านั้นจึงใส่ความปรารถนาของตนเองลงไปในต้นกฐิน โดยเชื่อว่าต้นกฐินนี้จะเป็นสื่อของการเตรียมเสบียงไปไว้ใช้ในอนาคตของตนเอง หรือเป็นการส่งสิ่งที่ปรารถนาเหล่านั้นไปให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว

พระเจ้าอยู่หัว

วาดเส้นโดย สมาพร คล้ายวิเชียร

THAILAND-KING/

ข้าพระพุทธเจ้า ขอตั้งจิตอธิษฐานขออำนาจขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าอำนาจของพระธรรม อำนาจของพระสังฆเจ้า พระบรมสารีริกธาตุที่มีอยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงที่มีอยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ เสื้อบ้านเสื้อเมือง ได้ดลบันดาลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (ในหลว ง) ทรงหายพระประชวรในเร็ววันด้วยเทอญ


โอโนเร โดมิเย (Honore Daumier)

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

Daumier1

โอโนเร โดมิเย (Honore Daumier ค.ศ. 1808-1879) เกิดวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1808 ที่มาร์ซาลซูเมืองท่าทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส บิดาของโดมิเย เป็นช่างทำกระจก ตอนเด็กเขาใฝ่ฝันอยากจะเป็นกวี แต่เมื่อโตขึ้นกลับปรากฏแววความเป็นศิลปินมากกว่า โดมิเย มีชื่อเสียงอย่างมากในการวาดภาพล้อเลียนและการ์ตูน อีกทั้งยังเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ทางด้านกลวิธีการพิมพ์แม่พิมพ์หิน เรื่องราวที่โดมิเยวาดมักวาดภาพเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรม ทางสังคม ล้อชีวิตการโกงกินของนักการเมือง ระบบยุติธรรม ผู้พิพากษา ทนายความ หมอ นักธุรกิจ ดารา ชนชั้นกลาง ตลอดจนกษัตริย์ ผู้เขียนจึงได้เลือกภาพ Three Men Laughing มาใช้บรรยายถึงแนวคิด ลักษณะเฉพาะ และทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของโดมิเย

View More

เออแซน เดอลาครัว (Eugene Delacroix)

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

Eugene_Delacroix-Nadar

เออแซน เดอลาครัว เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสที่มีความสำคัญมากของศิลปะลัทธิโรแมนติก เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ 1798 ซึ่งลือกันว่าเป็นบุตรนอกสมรสของรัฐบุรุษฝรั่งเศสชาร์ลส์ ตาเรย์รองด์ (Charles Talleyrand) เพราะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกัน

เดอลาครัว มักวาดภาพเกี่ยวกับความทารุณ โหดร้าย ความรุนแรง รวมถึงการต่อสู้และการล่าสัตว์ เพื่อให้สามารถรู้จักและเข้าใจถึงบุคลิกลักษณะเฉพาะของ เดอลาครัว ผู้เขียนจึงได้เลือกภาพ Monk at Prayer มาใช้บรรยายถึงแนวคิด ลักษณะเฉพาะ และทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของเดอลาครัว

View More

National Bunraku Theater in Osaka

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

National Bunraku Theater in Osaka เป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุน ให้คนในชาติทำนุบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทางด้านการแสดงเชิดหุ่นกระบอกบุราคุ (Bunraku)  โดยก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1684 พันธกิจหลักของ National Bunraku Theater in Osaka นั้น ก็จะมีในเรื่องของการจัดแสดงหุ่นเชิดบุราคุ การบำรุงรักษา ซ่อมแซม การสร้างสรรค์หุ่นเชิด การออกแบบเสื้อผ้าของหุ่นเชิด

ในการแสดงเชิดหุ่นบุราคุภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “นิงเคียว” (ningyō) จะต้องแสดงเป็นทีม ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญของการแสดงอยู่ 3 ส่วน คือ 1) ผู้ร้องเรื่องราว ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “ทะยู” (tayu) ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของการแสดงหุ่นเชิดบุราคุ 2)  คนเล่นซามิเซง ซึ่งซามิเซงเป็นเครื่องดนตรีที่กำหนดจังหวะของคนร้องและคนเชิดหุ่น 3) คนเชิดหุ่นกระบอกและตุ๊กตาหุ่นเชิด ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “นิงโยซึคัย หรือ นิงโยซูคัย” (Ningyōtsukai or Ningyōzukai) ซึ่งในส่วนของหัวหรือหน้าตาของหุ่นมีประมาณ 40 แบบ ในหัวของหุ่นแต่ละตัวจะมีหน้าตาหลายๆ แบบ

นักแสดงหุ่นเชิดบุราคุนั้นต้องเริ่มเรียนรู้ฝึกฝนตั้งแต่อายุน้อยๆ ซึ่งระดับของความชำนาญและการยอมรับของนักแสดงนั้น สามารถจำแนกได้ตามอายุ ตัวอย่างเช่น ผู้ร้องอายุประมาณ 50 ปี จะถือว่าเป็นนักแสดงในระดับที่ยังไม่ชำนาญนัก ต้องแสดงมาจนถึงอายุ 70 ปีขึ้นไปแล้ว จะถือว่าเป็นนักแสดงบุราคุที่อยู่ในระดับแถวหน้าที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งในปัจจุบันนักแสดงบุราคุที่มีชื่อเสียงที่สุดอายุ 75 ปี

การไปเยี่ยมชมที่ National Bunraku Theater in Osaka ในครั้งนี้นั้น ผู้เขียนจะขออธิบายด้วยภาพ ซึ่งผู้เขียนเข้าใจว่าภาพจะสามารถสื่อความหมายได้ดีกว่าคำบรรยายร้อยๆ พันๆ คำ ดังสุภาษิตที่ว่า “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ”

View More

The National Museum of Art, Osaka (15.03.09)

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

National Museum of Art, Osaka (NMAO)
National Museum of Art, Osaka (NMAO)

The National Museum of Art, Osaka   ใช้ตัวย่อภาษาอังกฤษว่า NMAO เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ที่ Nakanoshima ระหว่าง  Dōjima River และ Tosabori River เดินทางประมาณ 5 นาที จากสถานี Higobashi Station ซึ่งออกแบบโดย Arata Isozaki  พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีห้องแสดงนิทรรศการที่อยู่ลงไปใต้ดิน โดยสร้างสถาปัตยกรรมที่แสดงโครงสร้างของการสอดประสานกันของเส้นโลหะผิวเรียบเนียนครอบห้องนิทรรศการเอาไว้

ผลงานศิลปะที่เก็บสะสมเอาไว้ ก็มีผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิเช่น Paul Cézanne, Pablo Picasso, Max Ernst, Tsuguharu Foujita และ Yasuo Kuniyoshi อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ศิลปินทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มาจัดนิทรรศการแสดงผลงาน ซึ่งในตอนที่ผู้เขียนไปเยี่ยมชม NMAO นั้น ก็ได้ชมผลงานศิลปะของศิลปินจีน โดยใช้ชื่อนิทรรศการว่า “AVANT GARDE CHINA 20”

สำหรับการข้อควรปฎิบัติในการเข้าชมนิทรรศการที่ NMAO นั้น มีดังนี้1. ห้ามนำกล้องถ่ายรูปเข้าไปในห้องนิทรรศการอย่างเด็ดขาด 2. ห้ามนำปากกาเข้าไปในห้องนิทรรศการ หากต้องการจดบันทึกทางเจ้าหน้าที่จะมีดินสอให้ยืม 3. ห้ามนำโทรศัพท์มือถือเข้าเข้าไปในห้องนิทรรศการ 4. ในการเดินชมนิทรรศการเจ้าหน้าที่จะบอกให้เราเดินไปตามห้องต่างๆ และในห้องนิทรรศการแต่ละห้องจะมีเจ้าหน้าที่นั่งเฝ้าอยู่ทุกห้อง

บัตรเข้า NMAO
บัตรเข้า NMAO

View More

We We in Japan 14-22 Mar 09

Japan 14-22 Mar 09 (14.03.09 รวมพลที่สุวรรณภูมิ)

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

เนื่องจากการศึกษาดูงานต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนหลักสูตรศิลปกรรม ดุษฏีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พวกเรารุ่น 1 (WE WE) จึงได้มีโอกาสได้มาอยู่ร่วมกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันอีกครั้งหนึ่ง หลังจากเรียนจบ course work แล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการบันทึกภาพเหตุการณ์ความประทับใจ  ผู้เขียนจึงรวบรวมภาพที่พวกเราไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น เมืองโอซากา นารา    เกียวโต ตั้งแต่วันที่ 14-22 มีนาคม 2552

ภาพกิจกรรมชุดแรกผู้เขียนจึงขอนำเสนอภาพในวันที่ 14 มีนาคม 2552 รวมพลกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ ชั้น 4 ประตู 2 แถว D เพื่อออกเดินทางสู่สนามบินคันไซ โดยสายการบินไทย TG 266 ซึ่งเป็นกิจกรรมแรกที่พวกเราได้รวมทำกิจกรรมร่วมกันครั้งแรกหลังจบ course work

We We

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

ภาพกิจกรรมที่พวกเรา ป.เอก คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันทำกิจกรรมตลอด 1 ปี (ยังมีภาพอื่นๆ อีกมากมาย) ซึ่งผู้เขียนกำลังรวบรวมเพื่อจะนำมาเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ชมต่อไป

ภาษาภาพ : คืนที่มีดาวพราวฟ้า Visual Language : The Starry Night

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร 

 

     บทความเรื่อง “ภาษาภาพ:คืนที่มีดาวพราวฟ้า” Visual Language : The Starry Night มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเนื้อหาของภาษาภาพ ที่มนุษย์ใช้สื่อสาร สร้างความเข้าใจร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด หรือใช้ภาษาอะไร ทั้งนี้เพราะการรับรู้ภาษาภาพ เกิดจากการมองเห็นด้วยตา จากนั้นไปผ่านการประมวลผลของสมองและจิตใจ ทำให้เกิดการรับรู้และทำความเข้าใจ ซึ่งการรับรู้ของ แต่ละคนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ การฝึกฝน การได้เห็นและการสังเกตผลงานศิลปะ แต่การแปลความหมายของภาษาภาพนั้น มีความแตกต่างจากภาษาเขียน  เพราะภาษาเขียน มีหลักภาษาหรือไวยกรณ์ที่ค่อนข้างตายตัว แต่ภาษาภาพไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวแน่นอน สามารถ แปลความหมายได้มากมายหลายแนวทาง ดังนั้นในการแปลความหมายของภาษาภาพจะต้อง ฝึกทักษะทางการรับรู้ภาษาภาพที่ประกอบด้วย ส่วนมูลฐานทางศิลปะ อันได้แก่  เส้น รูปร่าง  รูปทรง  สี แสงเงา ฯลฯ และหลักการทางศิลปะ อันได้แก่ จังหวะ การเคลื่อนไหว ดุลยภาพ ฯลฯ มาประกอบกัน เป็นผลงานศิลปะที่ศิลปินใช้เป็นภาษาในการสื่อสารแนวคิด ความหมาย จินตนาการ และมีคุณค่าทาง ความงาม
     ในบทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอภาษาภาพ  คืนที่มีดาวพราวฟ้า (The Starry Night ) ผลงาน ของศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับโลก ชาวดัตช์ วินเซนต์ แวนโก๊ะห์ (Vincent Van Gogh)  ซึ่งเขาได้ถ่ายทอด อารมณ์ ความรู้สึกถึง ความเหงา ความโดดเดี่ยว ความทุกข์ทรมาน และพลังความเคลื่อนไหวที่อยู่ใน ความหยุดนิ่งของบรรยากาศ  ตลอดจนเป้าหมายที่ต้องการจะเดินทางไปสู่สรวงสวรรค์ด้วยความตาย  

View More

สุนทรียในงาน Computer Art

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

การดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญที่ได้นำมาใช้ในงานต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น เป็นเครื่องมือในการควบคุมสัาณไฟจราจร ควบคุมไฟฟ้า น้ำประปา การขึ้นลงของเครื่องบิน การค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การสื่อสาร การบริหารจัดการงานในองค์กรต่างๆ หรือแม้กระทั่งการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่อสร้าง ภาพที่มนุษย์ไม่สามารถจะสร้างในความเป็นจริงให้เกิดขึ้นได้ (Granam, Neil, 1983:10) ภาพที่ได้จะมีลักษณะ 2 มิติ และ 3 มิติ มีทั้งรูปแบบเหมือนจริงและนามธรรม โดยอาศัยคุณสมบัติพิเศษ ของคอมพิวเตอร์ในการเก็บ (Save) ภาพ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงภาพต่างๆ และนำภาพนั้นๆ กลับมาใช้ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

ทางด้านศิลปะ ศิลปินส่วนใหญ่หันมาใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เช่น งานประติมากรรมหรืองานปั้น ก็สามารถใช้โปรแกรม 3 มิติ ในการออกแบบ เพื่อใช้ใน การทำแบบร่าง ตรวจสอบรูปทรงหรือความคิดก่อนสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานจริง จิตรกร ศิลปินภาพพิมพ์และศิลปินถ่ายภาพก็สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ในการสร้างภาพ ตกแต่งภาพ ตลอดจน ศิลปินสื่อผสมก็สามารถหาแนวทางและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสร้างสรรค์ จึงมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของงานศิลปะและประสบกรณ์ใหม่ทางสุนทรียศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตามผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์จากคอมพิวเตอร์นั้น ยังไม่เป็นที่ยอมรับในการประเมินคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ แต่อย่างใด และมักถูกตั้งคำถามอย่างมากจากนักวิชาการศิลปะ นักวิจารณ์ศิลปะ และผู้สนใจศิลปะว่า “ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์จากคอมพิวเตอร์มีคุณค่าทางความงามหรือคุณค่าทางสุนทรียภาพหรือไม่”

View More

เรมบรันต์ ฟาน ริเจนี่ (Rembrandt van Rijn)

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร
ภาพเหมือนตนเองของเรมบรันต์ ฟาน ริเจนี
ภาพเหมือนตนเองของเรมบรันต์ ฟาน ริเจนี

เรมบรันต์ ฟาน ริเจนี (Rembrandt van Rijn ค.ศ.1606 – 1669) เป็นศิลปินสมัยบารอค เกิดวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1606 ที่เมืองไลเดน เขตฮอลแลนด์โปรเตสแตนต์ เขาเป็นศิลปินที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นทั้งจิตรกร และศิลปินภาพพิมพ์ที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก และมีความสำคัญอย่างมากในประวัติศาสตร์เนเธอร์แลนด์ เขามีความเชี่ยวชาญในการวาดภาพคนเหมือนสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของหุ่นออกมาทางสีหน้าและแสดงความเห็นอก เห็นใจผ่านออกมาในผลงานของเขาได้อย่างยอดเยี่ยม ดังนั้นผลงานของเรมบรันต์ ส่วนใหญ่จึงมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคนเหมือน โศกนาฏกรรมและความยากจน

View More

วิวัฒนาการด้านภาพพิมพ์ของโลก

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

Adam and Eve ผลงาน Albrecht Durer
Adam-Eve ผลงาน Albrecht Durer

ภาพพิมพ์มีประวัติความเป็นมาเริ่มตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (200,000 ปีก่อน คริสตกาล) โดยมนุษย์โครมันยอง ดังพบภาพพิมพ์รูปมือบนผนังถ้ำในถ้ำลาสโควซ์ ประเทศฝรั่งเศสและถ้ำอัลตามิรา ประเทศสเปน ต่อมาชาวอียิปต์และชาวเมโสโปเตเมียรู้จักการพิมพ์ภาพแบบใช้แรงกดประทับบนผิววัสดุที่อ่อนนิ่ม เช่น ดิน ขี้ผึ้ง จากนั้นมนุษย์คิดค้นกระดาษขึ้นได้จึงเปลี่ยนวัสดุรองรับที่เป็นดินหรือขี้ผึ้งมาเป็นกระดาษแทน นับแต่นั้นมาภาพพิมพ์ก็ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านรูปแบบ กลวิธีการพิมพ์ตามวิวัฒนาการของมนุษย์และความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาจนถึงปัจจุบัน

ความเจริญก้าวหน้าทางด้านการพิมพ์เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางด้านศิลปะวิทยาการ เพราะว่ามนุษย์สร้างสรรค์กระบวนการพิมพ์ภาพขึ้นมาก็เพื่อตอบสนองความต้องการ ในการเผยแพร่ความคิดและความรู้ของมนุษย์ให้กระจายไปได้อย่างแพร่หลาย ตลอดจนเพื่อเก็บรักษาความรู้ต่างๆ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงความเป็นมาของความรู้ในเรื่องต่างๆ ดังนั้นเพื่อให้เห็นภาพรวมของพัฒนาการทางด้านการพิมพ์ภาพที่ก่อประโยชน์ให้มนุษย์อย่างมากในปัจจุบัน จึงขอกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของภาพพิมพ์ในกลุ่มประเทศตะวันออก กลุ่มประเทศตะวันตกหรือยุโรปและในประเทศไทย

View More

การผสมผสานวัฒนธรรมทวาราวดีกับวัฒนธรรมเขมรในชุมชนโบราณ

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

พระโพธิสัตว์ศรีอารยเมตไตรย
พระโพธิสัตว์ศรีอารยเมตไตรย

 

     เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ มีการขุดพบ ปฏิมากรรมสำริด ศิลปะเขมรสมัยก่อนเมือง พระนครเป็นจำนวนถึง ๓๐๐ องค์ ในกรุภายใต้ ปราสาทเขมรสมัยพระนครองค์หนึ่งที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปฏิมากรรมที่พบส่วนใหญ่เป็นพระโพธิสัตว์ แต่บางส่วนเป็นพระพุทธรูป กล่าวกันว่า ปฏิมากรรมเหล่านี้ ถูกนำออกไปต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

     ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ นายเสนอ นาคินทรชาติ ได้ขุดพบปฏิมากรรมสำริดจำนวน ๓ องค์ เป็นพระพุทธรูป ๑ องค์ พระโพธิสัตว์ ๒ องค์ที่บ้านฝ้าย อำเภอหนองหงส์ (แต่เดิมอยู่ในเขต อำเภอลำปลายมาศ) จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งก่อนหน้านั้นได้ขุดพบพระพุทธรูปศิลา ๒ องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนาคปรก ส่วนอีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์

     จากการศึกษารูปแบบของปฏิมากรรมที่พบทั้ง ๒ แห่ง คือที่อำเภอประโคนชัย และที่อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่ามีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับปฏิมากรรมพบที่เมืองศรีเทพ อำเภอศรีเทพจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสถานที่ที่พบปฏิมากรรมดังกล่าว มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันอย่างแน่นนอน

View More

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาพพิมพ์

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

ภาพพิมพ์มือบนผนังถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ภาพพิมพ์มือบนผนังถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์

มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์บังเอิญเอามือที่เปื้อนดินโคลนไปจับหรือวางทาบตามผนังถ้ำ ทำให้เกิดรอยฝ่ามือขึ้น ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงนำมือไปจุ่มสีแล้วเอามาวางทาบบนผนังถ้ำเกิดเป็นรูปมือในลักษณะต่างๆ ซึ่งเราเรียกวิธีการแบบนี้ว่า “การพิมพ์ภาพ” และเรียกภาพที่เกิดขึ้นว่า “ภาพพิมพ์” จากนั้นก็ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องด้วยการหาวัสดุต่างๆ เช่น ไม้ แผ่นโลหะ แผ่นหิน แผ่นยาง ผ้าไหม ฯลฯ มาใช้พิมพ์แทนที่มือ จนเกิดกระบวนการพิมพ์ขึ้นมา 4 กระบวนการหลักๆ คือ ภาพพิมพ์ผิวนูน ภาพพิมพ์ร่องลึก ภาพพิมพ์พื้นราบ และภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ซึ่งการพิมพ์ทั้ง 4 กระบวนการนี้ ได้รับ การพัฒนาคิดค้นขึ้นมา เพื่อใช้พิมพ์ภาพและตัวอักษรให้ได้เป็นจำนวนมากสำหรับใช้ในวงการธุรกิจ การค้า โดยพิมพ์เป็นหนังสือ แผ่นพับ ป้ายโฆษณา แผ่นปิดภาพยนต์ เสื้อผ้า หีบห่อ บรรจุภัณฑ์ กล่องขนม กล่องไม้ขีด ถุงใส่ของ เป็นต้น

View More

ไมเคิลแอนเจโล (Michelangelo Buonarroti)

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

ภาพเหมือนไมเคิลแอนเจโล วาดโดยเดลีนี เด วอลเดอร์ลา (Daniele da Volterra)
ภาพเหมือนไมเคิลแอนเจโล วาดโดยเดลีนี เด วอลเดอร์ลา (Daniele da Volterra)

ไมเคิลแอนเจโล หรือ มิเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี (Michelangelo Buonarroti ค.ศ.1475 – 1564) เกิดวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาเปรเซ่ เมืองคาสเซ็นติโน รัฐฟลอเรนซ์ บิดาเป็นข้าราชการและสืบเชื้อสายมาจากตระกูลผู้ดีเก่าแก่ของฟลอเรนซ์ เมื่ออายุ 13 ปี ไมเคิลแอนเจโล ได้มอบตัวเป็นศิษย์เข้าศึกษาการวาดภาพกับโดเมนิโก กีย์ลันไดโอ (Domenico Ghirlandaio) จิตรกรคนสำคัญของฟลอเรนซ์ เขาศึกษายังไม่ทันจบหลักสูตรก็ลาออกย้ายเข้าไปเรียนวิชาประติมากรรมที่เขารักและหลงใหลที่อุทยานประติมากรรมของเจ้าชายโลเร็นโซ และศึกษาวิชาวาดเส้น แกะสลัก ปั้น จิตรกรรมที่นี่ จนกระทั่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นได้ทั้งจิตรกร ประติมากร สถาปนิก กวีและวิศวกร ที่ได้รับการยกย่องอย่างมากในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาหรือเรอนาซอง

เพื่อเป็นการศึกษากระบวนการวาดภาพของไมเคิลแอนเจโล ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เขียนจึงได้นำภาพ The Libyan Sybil ที่ไมเคิลแอนเจโล ได้ทำการศึกษาถึงลักษณะการจัดวางองค์ประกอบ ลักษณะของกล้ามเนื้อ ด้วยกลวิธีการวาดเส้นก่อนที่จะนำไปวาดเป็นผลงานจิตรกรรม

View More

เที่ยวปราสาทเขมร

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

จากการที่ได้ไปเที่ยวประเทศกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ.2549 ทำให้เกิดความรู้สึกประทับใจในความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรมแบบเขมร เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับปราสาทหินในประเทศไทยที่พบมากในบริเวณอีสานใต้แล้ว จะเห็นได้ถึงความคล้ายคลึงกันในรูปแบบของศิลปกรรม แต่ก็พบความแตกต่างในสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ ดังนั้นจึงได้นำสภาพบรรยายที่ได้ไปพบด้วยตนเองมานำเสนอให้ผู้สนใจได้ชม เพื่อลองเปรียบเทียบดูว่าปราสาทที่บ้านเราต่างจากประเทศกัมพูชาอย่างไร ซึ่งคิดว่าท่านผู้ชมจะได้รับกลิ่นอายทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่แตกต่างกันออกไปอย่างแน่นอน

View More

ความทรงจำ…ณ.คณะวิจิตรศิลป์ มช.

โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

เมื่อนึกถึงภาพแห่งความสุข ความสนุก ความหวังและการแสวงหา ข้าพเจ้ามักจะนึกถึงคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสมอๆ ซึ่งสถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งประสิทธิประสาทวิชาความรู้ให้แก่ข้าพเจ้า อีกทั้งยังทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ ประสบการณ์ต่างๆ อีกมากมาย ตลอดระยะเวลาที่เรียนรู้สึกประทับใจมาก ดังนั้นจึงได้รวบรวมภาพขณะที่กำลังเรียนอยู่มาไว้ในเวปไซด์ของตนเอง ซึ่งจะค่อยๆ นำออกมาโชว์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

View More