โดย สมาพร คล้ายวิเชียร

National Bunraku Theater in Osaka เป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุน ให้คนในชาติทำนุบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทางด้านการแสดงเชิดหุ่นกระบอกบุราคุ (Bunraku)  โดยก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1684 พันธกิจหลักของ National Bunraku Theater in Osaka นั้น ก็จะมีในเรื่องของการจัดแสดงหุ่นเชิดบุราคุ การบำรุงรักษา ซ่อมแซม การสร้างสรรค์หุ่นเชิด การออกแบบเสื้อผ้าของหุ่นเชิด

ในการแสดงเชิดหุ่นบุราคุภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “นิงเคียว” (ningyō) จะต้องแสดงเป็นทีม ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญของการแสดงอยู่ 3 ส่วน คือ 1) ผู้ร้องเรื่องราว ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “ทะยู” (tayu) ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของการแสดงหุ่นเชิดบุราคุ 2)  คนเล่นซามิเซง ซึ่งซามิเซงเป็นเครื่องดนตรีที่กำหนดจังหวะของคนร้องและคนเชิดหุ่น 3) คนเชิดหุ่นกระบอกและตุ๊กตาหุ่นเชิด ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “นิงโยซึคัย หรือ นิงโยซูคัย” (Ningyōtsukai or Ningyōzukai) ซึ่งในส่วนของหัวหรือหน้าตาของหุ่นมีประมาณ 40 แบบ ในหัวของหุ่นแต่ละตัวจะมีหน้าตาหลายๆ แบบ

นักแสดงหุ่นเชิดบุราคุนั้นต้องเริ่มเรียนรู้ฝึกฝนตั้งแต่อายุน้อยๆ ซึ่งระดับของความชำนาญและการยอมรับของนักแสดงนั้น สามารถจำแนกได้ตามอายุ ตัวอย่างเช่น ผู้ร้องอายุประมาณ 50 ปี จะถือว่าเป็นนักแสดงในระดับที่ยังไม่ชำนาญนัก ต้องแสดงมาจนถึงอายุ 70 ปีขึ้นไปแล้ว จะถือว่าเป็นนักแสดงบุราคุที่อยู่ในระดับแถวหน้าที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งในปัจจุบันนักแสดงบุราคุที่มีชื่อเสียงที่สุดอายุ 75 ปี

การไปเยี่ยมชมที่ National Bunraku Theater in Osaka ในครั้งนี้นั้น ผู้เขียนจะขออธิบายด้วยภาพ ซึ่งผู้เขียนเข้าใจว่าภาพจะสามารถสื่อความหมายได้ดีกว่าคำบรรยายร้อยๆ พันๆ คำ ดังสุภาษิตที่ว่า “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ”

Leave a Reply